วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ไม่มีตรงกลาง จิรากร Jirakorn (Love Pill)



ใครจะพยายามแทรกกลางระหว่างเรา
รู้ไว้นะว่าเขาไม่มีวันเข้ามาได้
จะไม่มีตรงกลางที่เหลือว่างเพื่อใคร ถ้าใจเรายังผูกกัน
ใครจะพยายามยุยงให้สั่นคลอน
รู้ไว้นะทุกครั้งฉันนอนหลับตาฝัน
เห็นแค่ภาพเรารักกันยาวนาน
จนถึงวันที่ฉัน "แต่งงานกับเธอ"

[MV]เธอยัง... - POTATO (official)



เพลง เธอยัง…
ศิลปิน : Potato (โปเตโต้)
อัลบั้ม : HUMAN
ค่าย : GMM Grammy

ยังฉันยังเป็นคนที่รักเธอหมดใจ
ฉันยังได้แต่คิดถึงเธอเรื่อยไป
ฉันยังดูรูปถ่ายที่เราชิดใกล้ อยู่ทุกวัน
ฉันยังรอคอยให้เธอนั้นกลับมา
ฉันยังกาปฏิทินอยู่ทุกคืนวัน
เพราะคำเดียว ระยะทาง ที่มาขวางกั้น เราไว้
ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
ฝากเพลงนี้ให้ไปถามเธอดู อยากจะรู้ในความเป็นไป
*เธอยัง คิดถึงฉัน ทุกนาทีหรือเปล่า
เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ที
ฉันกลัวใครทำให้เธอนั้นเปลี่ยนไป
ฉันกลัวสิ่งที่ไม่แน่นอนมากมาย
ฉันกลัวคำว่าเสียใจ เธอรอฉันได้ ใช่มั้ย
ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
ฝากเพลงนี้ให้ไปถามเธอดู อยากจะรู้ในความเป็นไป
**เธอยัง คิดถึงฉัน ทุกนาทีหรือเปล่า
เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม
เธอยังคิดถึงฉันทุกเวลาอยู่หรือเปล่า
เธอยังดูรูปเราใบเดิมๆอยู่หรือไม่
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
เธอยังรักกันเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ที

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรม ตะเกียบญี่ปุ่น

うるし塗タイプ(国産桧材) SH-101
  
(本体¥2,800)長さ22cm×箸先の巾4.0~4.5cm
漆塗装は6~7回、箸先にサビ塗を一回ペーパーすりを2回施し食べ物が滑らないようにしています。
職人の手造りですので、多少お箸の厚さや丸みは異なっています。
190gの缶コーヒーが持てれば、どなたでもご利用出来ます。
握力の弱くなったご両親へのプレゼントに最適です

ポリウレタン塗タイプ(国産桧材)SH-102
                 
(本体¥2,600)長さ22cm×箸先の巾4.0~4.5cm
ウレタン仕上げ着色して5回塗ります。また、耐久性があり食器洗浄機(70℃)でも使用できます。
職人の手造りですので、多少お箸の厚さや丸みは異なっています。
190gの缶コーヒーが持てれば、どなたでもご利用出来ます。
握力の弱くなったご両親へのプレゼントに最適です

オリーブ油漬けタイプ(国産桧材)SH-103
   

(本体¥1,900)長さ22cm×箸先の巾4.0~4.5cm
オリーブ油に24時間漬け込み、後は自然乾燥しています。また、オリーブ箸は指の状態に合わせ持ちやすいよう加工もできます。
職人の手造りですので、多少お箸の厚さや丸みは異なっています。
190gの缶コーヒーが持てれば、どなたでもご利用出来ます。
握力の弱くなったご両親へのプレゼントに最適です。

バネ(取替え用)
(本体¥500)
このバネでねじれが無く箸先の交差がなくなります。
165.000回もの耐久試験を達成!(香川県産業技術センター)

商品名
箸一番 がっちりさん


商品の特徴
1・箸先がねじれない
2・左右使用出来る

問い合わせ
株式会社 創芸
住所 香川県高松市林町76-32
電話 087-869-8815
FAX 087-869-8817
URL http://www.sougei.info/

発売日
発売中

http://www.tv-tokyo.co.jp/wbs/trend_tamago/post_1004.html

นิทานญี่ปุ่น "ใครๆก็ว่าผมโง่"

『ほんまにオレはアホやろか』 ใครๆก็ว่าผมโง่


Title: 『ほんまにオレはアホやろか』”ใครๆก็ว่าผมโง่”


Author: 水木しげる (Mizuki Shigeru:อ.มิซุกิ ฉิเกรุ) ผู้วาดการ์ตูนเรื่อง Gegege No Kitarou การ์ตูนเกี่ยวกับผีต่างๆช่วยกันปราบปีศาจร้ายค่ะ


70-80ปีก่อน ก่อนสงครามโลกครั้ง การกวดขันเพื่อสอบเข้า การตัดสินความสามารถเด็กโดยการสอบวัดระดับก็ยังเป็นเรื่องที่เด็กๆญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องเผชิญ


หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่อ.ชิเกรุ มิซุกิเขียนเล่าเกี่ยวกับประวัติตนเองตั้งแต่วัยเด็กจนมาเป็นนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียง

อ.มิซุกิเกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1922 ณ เมืองซะไกมินาโตะ จังหวัดโทโทริ (鳥取県境港町)ในวัยเด็ก อ.มิซุกิชอบอยู่กับธรรมชาติ ชอบสังเกตแมลง ชอบทะเลและชอบว่ายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ เนื่องจากแกมีความสร้างสรรค์ในการหาเกมใหม่ๆมาเล่น ก็เลยทำให้มีเพื่อนเยอะและเป็นหัวโจกเด็กๆไป

นอกจากนี้ แกยังชอบฟังเรื่องนิทานปรัมปรา เรื่องเกี่ยวกับภูตผี(โยไก:妖怪) ต่างๆจากคุณยายในหมู่บ้าน หลังๆ แกก็ไปค้นคว้าหาหนังสือมานั่งอ่านเอง ฉันอ่านหนังสือไปก็นึกถึงสถาปนิกชื่อดัง คุณทาดาโอะ อันโดนะคะ จำได้ว่า ตอนเด็กๆ แกก็เป็นคนที่อยู่กับธรรมชาติ ชอบเที่ยวชอบเล่นมาตลอดเหมือนกัน

ส่วนเรื่องการเรียนนั้น ไม่ต้องพูดถึง ขนาดแค่ตื่นไปโรงเรียน แกยังตื่นไม่ทัน ตื่นมาก็9โมงเช้า เด็กๆปกติคงรีบวิ่งตาตื่นไปโรงเรียน แต่แกเป็นประเภทค่อยๆนั่งทานข้าวเช้าอย่างเอร็ดอร่อยแล้วค่อยเดินไปโรงเรียน เป็นอย่างนี้บ่อยเข้า อาจารย์ที่โรงเรียนก็เริ่มชินและไม่ได้ว่าอะไรค่ะ

ด้วยความที่แกเป็นคนเรื่อยๆ สบายๆ แกไปสอบเข้าร.ร.มัธยมก็ไม่ติด ไปทำงานส่งหนังสือพิมพ์ก็โดนเขาไล่ออกเพราะตื่นสาย สุดท้าย แกก็ไปเรียนโรงเรียนสอนวาดศิลปะ (ซึ่งไม่ต้องสอบเข้า) ทุกๆคนรอบตัว แม้แต่พ่อแม่เองก็ยังถอดใจในความไม่เอาไหนของลูกชายตัวเอง หลังจากเข้าเรียนไม่นาน ก็เกิดสงครามเอเชียแปซิฟิก (1941-1945) อ.มิซุกิถูกส่งไปประเทศปาเลา เป็นประเทศเกาะเล็กๆอยู่ใต้ฟิลิปปินส์

ในบรรดาทหารกองหน้าที่ถูกส่งไป แกเป็นคนเดียวที่เหลือรอดชีวิตมาได้ บทหนึ่งที่ฉันชอบเกี่ยวกับชีวิตแกตอนช่วงนี้คือตอนที่แกไปสนิทกับคนพื้นเมืองค่ะ สนิทจนขนาดพวกเขาทำไร่ทำบ้านให้ จะให้มาอยู่ด้วยกันเลยค่ะ



"とにかく、土人たちの生活は精神的に豊かで充実しているのだ。ブンメイ人のせかせかした生活がばかばかしくなってくる。
 彼らは、午前中三時間ばかり畑仕事をするだけだ。それだけで、自然の神々は彼らの腹を満たしてくれる。人一倍つくって、冷蔵庫なんぞに貯えておく必要はない。いるだけつくって、いるだけ食えばいいのだ。自然の神は彼らの心まで豊かにする。"


ชีวิตความเป็นอยู่ของคนพื้นเมืองนั้นร่ำรวยมาก ร่ำรวยในการ”ใช้”ชีวิต ร่ำรวยน้ำใจ อารยธรรมทำให้วิถีชีวิตคนเราเร่งรีบและแปลกไปมาก
พวกเขา(คนพื้นเมือง)ทำนาทำไร่แค่3ชั่วโมงในช่วงเช้า ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ต้องทำงานเก็บตุนไว้เยอะๆ ไม่ต้องมีตู้เย็น มีแค่ไหนก็ทำแค่นั้น กินเท่าที่จำเป็น ธรรมชาติได้หล่อหลอมให้พวกเขามีจิตใจที่งดงามเหลือเกิน

อีกตอนหนึ่ง แกบอกว่า วันไหนที่ดาวสวย ทุกคนในครอบครัวจะมานอนเรียงกัน ดูดาวไป พูดคุยกระซิกหยอกล้อกันไป ทุกคนรู้จักกันดี สนิทกันดี แกมีความสุขกับชีวิตแบบนี้มากจนอยากจะอยู่เกาะนี้ ไม่กลับญี่ปุ่นไปเสียด้วยซ้ำ

หลังจากกลับมาที่ญี่ปุ่น แกก็มาเป็นคนรับจ้างวาดภาพหนังสือนิทานเด็ก (แบบแผ่นๆ ที่คนเล่าแบกไปเล่าตามหมู่บ้านน่ะค่ะ) ทำอยู่7ปี ทำงานเช้ายันค่ำก็ไม่ค่อยได้เงินที่พอเพียง พอวงการนี้ใกล้ล่ม แกก็ย้ายมาวาดการ์ตูนลงนิตยสารแทน (ตอนนั้นอายุใกล้ๆสี่สิบแล้วค่ะ) จนมีผลงานเป็นที่นิยมอย่าง เกเกเกะ คิตาโร่ อย่างทุกวันนี้ค่ะ

แกเล่าตอนท้ายเล่มว่า ด้วยความที่แกมัวแต่สนใจพวกแมลง พวกตำนานภูตผีปีศาจ พ่อแม่หรือญาติๆก็บอกว่า เจ้านี่ท่าจะบ้า แต่แกบอกว่า ความรู้ที่ได้ตอนนั้นทำให้แกนำมาใช้วาดการ์ตูนและมีวันนี้ แกสนุกที่จะเรียนรู้เรื่องพวกนั้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคนภายนอกจะมองว่าเรื่องที่เราทำอยู่มันบ้าบอคอแตกแค่ไหน แต่ถ้าเราทำจริง และทำเป็นระยะเวลานาน ก็จะเกิดผลดีเป็นที่สุด

Nihonjin Idea

商品名
おまとめハンガーカバー

商品の特徴
主婦のアイデアから生まれた便利グッズ。収納場所に困る“使わないハンガー”をひとまとめにし上着用の“便利なハンガー”に変えるハンガーカバー

問い合わせ
株式会社発明ラボックス
住所 東京都新宿区新宿7-27-4 ライオンズMS新宿第2 1004号
電話 03-6273-9360
FAX 03-6273-9372

価格
1,050円
発売日
発売中

その他
表の口の部分はネクタイやスカーフを掛けられ、内側のポケットには消臭剤や防虫剤を入れることができる。

http://www.tv-tokyo.co.jp/wbs/trend_tamago/20101108_wb_tt.html

ไม้แขวนเสื้อสารพัดนึก, Amazing Hanger

ไม้แขวนเสื้อสารพัดนึก, Amazing Hanger

(English version see below)
วันนี้ เรามีนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นโดยผู้ใช้มาเสนออีกแล้วค่ะ
เจ้าเป็ด หมา หมี และอะไรซักอย่างข้างล่างนี้คืออะไรทราบมั้ยคะ^^

!Today's user innovation is the picture below.
Do you know what these ducks (?), bears (?), dogs (?), or something are ?



มันคือที่เก็บไม้แขวนเสื้้อที่เราไม่ค่อยได้ใช้ค่ะ
!They are hangers's cover!
But....what for?

(Japanese name: おまとめハンガーカバー (O-ma-to-me Hanger Cover)

เพื่อนๆเคยมั้ยคะ เวลาเราจะหยิบไม้แขวนเสื้้อจากกอง
มันชอบเกี่ยวๆกัน ออกมาทีเป็นพรวนเลยทีเดียว
Have you ever gone mad with piles of hangers?
It always happens when we want to take one hanger from the pile.
You will get three or four hangers in one time instead of one hanger.

เจ้าเป็ดน้อยที่คลุมไม้แขวนเสื้ออันนี้ จะทำหน้าที่เก็บไม้แขวนเสื้อเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ ใช้ง่ายค่ะ
หลักง่ายๆก็คือ ภายในเป็ดน้อย จะมีแผ่นหนังยางยืดเล็กๆ
เอาไว้กลัดไม้แขวนเสื้อไม่ให้หลุดไปไหน
This wrap...OK, let's call it the "Little Duck".
The Little Duck will wrap the unused hangers together so that
the hangers do not stick with one another and are easy to use.
Inside the Duck, two rubber bands on both sides will fasten the hangers together
without mess.

ดูรูปข้างล่างซ้ายประกอบนะคะ
See the small picture on the left side below.

เราสามารถรวมๆไม้แขวนเสื้อที่ไม่ได้ใช้ไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งอัน
แล้วแขวนเสื้อผ้าไว้บนเป็ดน้อยได้ด้วย
On the Duck, you can also hang coat or suit on it.

ตรงตะข่าย เป็นที่ใส่ผงกันความชื้น เผื่อใครแขวนโค้ท ราจะได้ไม่ขึ้นหรือลูกเหม็นค่ะ
ปากหมีน้อยเป็ดน้อย ก็สามารถแขวนผ้าพันคอได้ด้วย
สารพัดประโยชน์จริงๆ

Inside the Duck, there is a net where we can fill the deodorant or mothball stuffs.
You can also hang scarfs at the mouth of the Duck too.
Very multiple usage innovation.

ถ้าใครสนใจอยากซื้อ เป็ดน้อยสนนราคาอันละ1,050เยน (สามร้อยกว่าบาท) ค่ะ
(แอบแพงนะเนี่ย)
สินค้าตัวนี้เพิ่งวางขายเดือนที่แล้ว แต่ขายได้ตั้งสองพันชิ้นภายใน๑เดือนแน่ะค่ะ
The price is 1,050 yen (10$) per piece.
The product was just launched last month but could be sold more than 2000 pieces
in one month.
See how it can hit Japanese's housewife heart!

ว่าแล้ว เราก็มาดูยูเซอร์คราวนี้กันดีกว่า
นานๆเราจะมีรูปคนประดิษฐ์เสียที
And this time, I could find the picture of the innovator!


นี่กคุณมัตสึโมโต้ แม่บ้านหัวกะทิญี่ปุ่นค่ะ
ของที่เธอประดิษฐ์ถูกนำมาผลิตขายแล้วมากกว่าสิบชิ้นแล้วค่ะ
This is Ms. Matsumoto, Japanese SUPER housewife.
Around ten of her innovations were already available in the market.

เธอรู้สึกรำคาญที่ไม้แขวนเสื้อมันตีๆกัน ก็เลยลองทำที่ห่อไม้แขวนเสื้อนี้ดู
She said she really got mad when the hangers got stuck together.
This is her motivation in creating this Little Duck.

เราต้องเข้าใจว่า บ้านคนญี่ปุ่นมันแคบมาก ไม่ค่อยมีที่วาง
สินค้าพวกประหยัดที่ เอนกประสงค์จึงเป็นที่จำเป็นและขายดีค่ะ
As I might state in the previous blog, Japanese houses are limited in space
so the multi-functional and space-save products are very popular.

ใครสนใจอยากดูวิธีการใช้ ดูวีดีโอพร้อมทั้งคำสัมภาษณ์คุณมัตสึโมโต้ได้ทางนี้ค่ะ
You can find further HOW-To-use and Ms. Matsumoto 's interview from this link.

ส่วนใครสนใจซื้อ ลองดูตามลิ้งค์ข้างล่างนี้นะคะ
เป็นของบริษัทชิงโกแฮงเกอร์ค่ะ
And for those who are interested in this product,
see more product detail and order from the link below.



Super Sensei

Book Memo: 『奇跡の教室』...ซูเปอร์เซ็นเซ



Title: 奇跡の教室:エチ先生と『銀の匙』のこどもたち (ซูเปอร์เซ็นเซ)
Author: 伊藤氏貴

ที่ญี่ปุ่น ตามสถานีรถไฟต่างๆมักจะมีร้านหนังสืออยู่ค่ะ เวลาคนนัดเจอกันหรือรอรถไฟ ก็มาอ่านหนังสือฆ่าเวลาก่อนได้ ฉันเองก็มายืนๆพลิกหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ดูระหว่างรอเพื่อน ก็เผอิญเจอกับหนังสือเล่มนี้เข้าค่ะ
ชื่อหนังสือ แปลตรงๆว่า ”ห้องเรียนมหัศจรรย์ เอฉิเซ็นเซกับเด็กๆเรื่อง”ช้อนเงิน”” ฉันแปลให้สั้นๆว่า ”ซูเปอร์เซ็นเซ”ค่ะ คำว่า เซ็นเซ ภาษาไทยคือ ครูหรืออาจารย์ค่ะ จำได้ว่า ตอนอ่านเรื่อง ”โคโคโระ”ของนัตสึเมะ โซเซกิฉบับแปลไทย ผู้แปลก็ไม่ได้แปลคำว่าเซ็นเซ เรียกทับศัพท์ไปเลย เพราะในภาษาไทย ไม่มีศัพท์มาแทนคำนี้ได้


เอฉิเซ็นเซ ชื่อจริงชื่อ ฮาชิโมโต้ ทาเคชิค่ะ เอฉิเซ็นเซ เป็นชื่อที่เด็กๆตั้งให้ มาจากคำว่า เอธิโอเปีย (ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เอฉิโอพีอะ) ตอนนั้น มีข่าวครึกโครมเรื่องเจ้าชายเอธิโอเปียจะแต่งงานกับลูกสาวตระกูลผู้ดีญี่ปุ่น แต่แล้วก็ไม่ได้แต่ง พอดีทรงผมอาจารย์ฮาชิโมโต้แกคล้ายๆเจ้าชายองค์นี้ เด็กๆก็เลยตั้งชื่อว่า เอฉิเซ็นเซค่ะ


แกสอนที่โรงเรียนนาดะในเมืองโกเบซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน แต่ก่อน โรงเรียนเอกชนไม่ค่อยมีชื่อเสียงค่ะ เด็กๆแย่งกันสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาลมากกว่า แต่เอฉิเซ็นเซก็ทำให้จำนวนนักเรียนร.ร.นาดะที่สอบติดมหาลัยโตเกียว(ม.อันดับ๑ของญี่ปุ่น)สูงที่สุดในประเทศเลยค่ะ

ร.ร.นาดะมีระบบสอนที่แปลกจากโรงเรียนอื่นคือ อาจารย์คนเดิมจะสอนนักเรียนห้องเดิมตั้งแต่ม.๑ถึงม.๖ในแต่ละวิชาค่ะ เอฉิเซ็นเซสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น วิธีการสอนของแกก็แปลกมาก คือ ใช้นิยายที่ชื่อ กิงโนะซาฉิ (แปลว่า ช้อนเงิน) สอนนักเรียน๓ปี คือตั้งแต่ม.๑ถึงม.๓
(หมายเหตุ..เอฉิเซ็นเซเริ่มสอนแบบนี้หลังมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หลังจากที่แกสอนที่นี่ได้๑๖ปีค่ะ)

ฉันเองก็ไปหานิยายเล่มนี้มาอ่านตาม เป็นหนังสือเล่มเล็กๆบางๆ ไม่เกินสามร้อยหน้าค่ะ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความผูกพันระหว่างผู้เขียนกับคุณป้า ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราวต่างๆตอนที่เขายังเป็นเด็กค่ะ

เนื่องจากร.ร.นาดะเป็นร.ร.ชายล้วน นักเรียนไม่ค่อยจะสนใจวิชาภาษาญี่ปุ่นเท่าไรค่ะ ก่อนเริ่มเรียน นักเรียนตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความสนใจในแต่ละวิชา มีนักเรียนแค่ 5%ที่ตอบว่าสนใจภาษาญี่ปุ่น แต่ผ่านไป๑ปี นักเรียน95%กลับตอบว่าสนใจค่ะ

ว่าแต่ เอฉิเซ็นเซสอนอย่างไรหนอ สอนหนังสือนิยายเล่มบางๆตั้ง๓ปี คำตอบซ่อนอยู่ในชีทที่อาจารย์แจกค่ะ

นี่เป็นรูปชีทที่เอฉิเซ็นเซเขียนและทำขึ้นเอง
(ภาพจากหนังสือ 『恩師の条件』)

อย่าลืมว่า สมัยก่อน ไม่มีเครื่องถ่ายเอกสาร อาจารย์แกะแม่พิมพ์เอง แล้วเอาไปสกรีนหมึกทีละใบๆ นักเรียนกี่สิบคนก็คูณไปสิคะ ทุกครั้ง อาจารย์จะหอบชีทกองโตเข้ามาในห้องเรียน บางที เด็กๆก็ตะลึงในความสูงของกองชีทจนทุกคนปรบมือให้ทีเดียวค่ะ

เมื่อสิ้นปี อาจารย์ก็จะให้นักเรียนทุกคนเย็บชีทที่เรียนเข้าด้วยกัน ใส่ปก เย็บหนังสือทำมือขึ้นมา


เนื้อหาของชีทจะสัมพันธ์กับแต่ละบทที่นักเรียนได้เรียน เช่น บทที่พรรณนาถึงต้นไม้ ดอกไม้ อาจารย์ก็จะรวบรวมชื่อดอกไม้ต่างๆที่อ่านยาก ให้นักเรียนลองอ่านดู บทที่พูดถึงเด็กไปซื้อขนม อาจารย์ก็พยายามหาขนมเหล่านั้นมาให้นักเรียนลองชิมดู บทที่พูดถึงตัวเอกเล่นว่าว อาจารย์ก็ไปขออาจารย์วิชาศิลปะให้สอนวิธีทำว่าวให้ เด็กๆก็วาดรูปบนว่าวและเล่นอย่างสนุกสนานเลยค่ะ
นักเรียนคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ตอนแรกๆพวกเขาก็งงว่า จะเรียนหนังสือนิยายไปทำไมตั้งสามปี แต่พอผ่านไปเดือนหรือสองเดือน เขารู้สึกว่า กิจกรรมต่างๆที่เอฉิเซ็นเซให้ทำนั้น ทำให้เขาผูกพันกับหนังสือเล่มนี้ และเหมือนสวมวิญญาณตัวเอกเผชิญในโลกนิยายฉบับนี้เลยทีเดียว
ไอเดียของเอฉิเซ็นเซที่ฉันคิดว่าเก๋มากคือการให้นักเรียนลองตั้งชื่อบทแต่ละบทในนิยายดูค่ะ หนังสือเรื่องช้อนเงินนี้ เดิมเป็นนิยายลงหนังสือพิมพ์รายวัน เนื้อเรื่องแต่ละบทจึงสั้นและไม่มีชื่อเรื่อง อาจารย์ก็ให้ทุกคนลองตั้ง และร่วมกันถกว่า ชื่อไหนสมควรจะได้เป็นชื่อบทนี้ เด็กๆชอบมาก และก็เป็นการฝึกให้นักเรียนหัดอภิปราย ปรึกษาหารือกันด้วย
อีกอย่างที่ฉันสนใจคือ เมื่อมีศัพท์ยากๆหรือวิธีเขียนใหม่ๆ อาจารย์จะทำที่ว่างเว้นไว้ให้นักเรียนลองหัดแต่งประโยคเลียนแบบผู้เขียนดู ฉันนึกถึงตอนอยู่ม.ปลาย เวลาสอบย่อยจะมีให้เขียนความเห็น เขียนประโยคเหมือนกัน ซึ่งฉันชอบมากและรู้สึกอิสระดี ไม่ต้องถูกจำกัดอยู่แค่คำตอบก.ข.ค.
เอฉิเซ็นเซก็ให้เด็กฝึกโน่น คิดนี่ สมมติว่าในบทหนึ่งมีคำว่า ขึ้น๑๕ค่ำเดือนอ้าย อาจารย์ก็จะเล่าถึงวิธีการนับเดือน นับข้างขึ้นข้างแรมแบบโบราณ เล่าเลยไปถึงปีนักษัตร ตำนานราศีต่างๆ ซึ่งเด็กๆก็ฟังกันเพลินทีเดียว
เป็นอย่างนี้ สามปีถึงค่อยจบหนึ่งเล่มค่ะ
ฉันเชื่อว่า ผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินการฝึก Speed-reading หรือการหัดอ่านแบบกวาดตา (skimming) อ่านจับใจความนะคะ แต่วิธีของเอฉิเซ็นเซกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผู้เขียนได้เรียกวิธีนี้แบบขันๆว่า "Slow-reading"ค่ะ อาจารย์สอนให้นักเรียนรู้สึกสนุก เข้าใจความงามของภาษา และรู้จักคิด วิเคราะห์ ดัดแปลงนำไปใช้ ซึ่งฉันเองก็มองว่า เป็นกระบวนการสอนที่ครบองค์ประกอบมากทีเดียว และในขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมากทีเดียว
ลองคิดดูนะคะ การสอนตามตำราที่กระทรวงกำหนด มีคู่มือครูให้ คงเป็นเรื่องไม่ยาก แค่ให้เด็กๆทำตามจุดประสงค์การสอน แผนการสอนก็เสร็จ แต่การสอนแบบไม่มีตำรา สอนจากนิยายเล่มหนึ่ง ผู้สอนต้องตีความบทความแต่ละบทให้แตก หาจุดที่จะมาสอน คิดและร่างแบบฝึกหัด ชีทเสริมขึ้นมาเอง และที่สำคัญ เป็นยุคที่ไม่มีคอมพิวเตอร์แพร่หลาย ไม่มีปริ๊นท์เตอร์สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ค่ะ (สามสิบกว่าปีก่อนค่ะ)
ฉันอ่านไปก็สำนึกไป ถึงฉันจะเป็นแค่ครูสอนพิเศษภาษาไทย ฉันก็สำนึกผิดต่อลูกศิษย์ที่ว่าฉันเป็นครูที่ไม่ได้ทุ่มเทอะไรเลย เตรียมการสอนก็ไม่ค่อยได้เตรียมค่ะ อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วก็ทึ่งทั้งวิธีการดัดแปลงและวิธีสอน วิธีดึงความสนใจของนักเรียน รวมถึงสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณความเป็น"ครู"ค่ะ